Wednesday, March 14, 2007

ทำไมต้องเป็น "พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า"

ตำบลบางกะเจ้า เป็นพื้นที่เล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ส่วนใหญ่โดยทั่วไปอยู่ติดกับ แม่น้ำเจ้าพระยา โดยด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ติดกับพื้นที่ตำบลบางยอ ทิศตะวันออกติด กับตำบลบางกอบัว มีพื้นที่รวม 2.89 ตารางกิโลเมตรเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ทั่วไป นิยมทำสวนผสม ปลูกมะพร้าวหมาก พลู หมากแดง มะม่วงน้ำดอกไม้ มะปราง ส้มโอ ขนุน ชมพู่มะเหมี่ยว มะละกอ กล้วย ส้ม ตลอดจนพืชผักสวนครัวอีกมากมาย นอกจากนี้สภาพแวดล้อมอันร่มรื่นยังประกอบไปด้วยพันธ์ไม้ป่าชายเลนอีกหลากหลายชนิดโดยเฉพาะต้นจาก ลำพู ลำแพน โพทะเล ทองหลาง เหงือกปลาหมอ ยอ สะเดา ขี้เหล็กข่อยเป็นเหตุให้มี สัตว์ต่าง ๆ มาอาศัยอยู่ตามธรรมชาติมากมาย ในหมู่แมกไม้จะมีกระรอก กระแต กระถิก นกเขาใหญ่ นกกวัก นกนางแอ่น นกนางนวล นกกา นกคุ้ม นกแซงแซว นกกาน้ำ นกกาเหว่า นกกระยางและหมู่แมลงชนิดต่าง ๆ
โดยเฉพาะตอนเย็นค่ำจะมีฝูงหิ่งห้อยบินกระพริบส่องแสงวูบวาบตามหมู่ไม้และลำพูแลดูสวยงามซึ่งจะหาชมจาก ท้องถิ่นอื่นได้ยากนักด้วยสภาพพื้นที่คูคลองและร่องสวนที่อยู่ติดลำน้ำเจ้าพระยาจึงทำให้มีสัตว์น้ำต่าง ๆ ชุกชุม อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร ของชาวบ้านบางกะเจ้าเป็นอย่างดี ทั้งกุ้งแม่น้ำ ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาหมอ ปลาสลิด ปลากระซิว ปลาไหล ตลอดจนหอยขมที่หางมมารับประทานได้ตามร่องสวนทั่วไปนอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกเต่า ตะพาบ ตัวเงินตัวทอง (เหี้ย , ตะกวด) งูกินแมลง ฯลฯ อีกมากมายเป็นสภาพนิเวศน์ที่ยังคงอยู่ตราบทุกวันนี้ ด้วยสภาพพื้นที่คูคลองและร่องสวนที่อยู่ติดลำน้ำเจ้าพระยาจึงทำให้มีสัตว์น้ำต่าง ๆ ชุกชุม อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร ของชาวบ้านบางกะเจ้าเป็นอย่างดี ทั้งกุ้งแม่น้ำ ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาหมอ ปลาสลิด ปลากระซิว ปลาไหล ตลอดจนหอยขมที่หางมมารับประทานได้ตามร่องสวนทั่วไปนอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกเต่า ตะพาบ ตัวเงินตัวทอง (เหี้ย , ตะกวด) งูกินแมลง ฯลฯ อีกมากมายเป็นสภาพนิเวศน์ที่ยังคงอยู่ตราบทุกวันนี้ บางกะเจ้านี้ตั้งอยู่อำเภอพระประแดงติดลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามจะเป็นช่องนนทรีและพระโขนง(คลองเตย) ซึ่งสมัยนั้นจะมีเหล่าขุนนางชั้นสูงที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาศัยอยู่มากพวกที่เป็นหญิงจะนิยมไว้ผมมวยสูงรัดเกล้าได้อพยพหลบหนี ข้ามฝั่งน้ำเจ้าพระยา มาด้วย เหตุใดไม่แน่ชัดทางลำคลองสายหนึ่งเพื่อมายังฝั่งตรงข้าม จนชาวบ้านขนานนามว่าช่องนางหนีปัจจุบันเรียกช่องนนทรีย์และลำคลองอีกสายหนึ่งที่มาถึงฝั่งตรงข้ามชาวบ้านจึงเรียก คลองรัดเกล้า ตามลักษณะที่พบเห็น บ้างก็เรียกว่า คลองบ้านเจ้า เมื่อมาอยู่อาศัยกันมากขึ้นคนทั่วไปจึงเรียกและขนานนาม พื้นที่นี้ว่า บางบ้านเจ้า บ้าง บางรัดเกล้าบ้างต่อมาเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาบางบ้านเจ้าหรือบางรัดเกล้าจึงกลับ กลายเป็น บางกะเจ้า ตราบจนทุกวันนี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ คล้ายกระเพาะหมู จนได้รับชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เกาะกระเพาะหมู” อาชีพหลักของชุมชมรินน้ำแห่งนี้ ยังคงยึดการทำสวนผลไม้ และสวนไม้ดอกไม้ประดับ และอาหารแปรรูปจากสัตว์น้ำ และขนมจากที่ขึ้นชื่อ และสินค้าแปรรูปอื่นๆ เว้นว่างจากการทำสวน ยังมีชาวบ้านบางกลุ่มยังคงนิยมเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี ปลาสอด ปลาทอง ปลาหางนกยูง และ”ปลากัด” ปลากัด การละเล่นของไทยทีมักมาควบคู่กับ การเลี้ยงไก่ชน กีฬาของชายไทยที่พิสมัยการต่อสู้ ปลากัด เป็นปลาที่มี ทั้งความสวยงาม แคล่วคล่อง ว่องไวมีน้ำอดน้ำทน เลี้ยงง่าย ปลากัด ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มนักเลี้ยงปลาสวยงามทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากคุณลักษณะของภูมิประเทศที่เหมาะสมแล้ว วิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำจึงเป็นแนวคิดหลักๆ ของการทำโครงการ “พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า”

แนวคิดพิพิธภัณฑ์

“ พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า ” ( Siamese Fighting Fish Gallery) ได้รับความร่วมมือระหว่างบริษัท สวนบางกระเจ้า จำกัด และ มูลนิธิพัฒนาศักยภาพคน โดยมีวัตถุประสงค์คือ...
“ พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า จะมิได้เป็นเพียงสถานที่ ให้ความรู้ในเรื่องของปลากัด หากแต่เป็นสถานที่ของการร่วมมือร่วมใจความมีสมานฉันท์ ของชุมชน เพื่อสร้างความแข็งแรงด้วยการเรียนรู้เราทำพิพิธภัณฑ์ปลากัดเริ่มจากการไม่รู้ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ เริ่มจากน้อยไปสู่มาก เริ่มจากความยากไปสู่ความง่าย เพื่อเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ”
“ใครมีปลากัดหลากหลายสายพันธุ์ ก็นำมาแบ่งปันเป็นการเพิ่มพูนความรู้ต่อยอด ความรู้เพิ่มความชำนาญ เรายินดีเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนเพื่อการเรียนรู้ ปลากัด ที่เราเริ่มทำการเพาะเลี้ยงอาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ที่ดี หากแต่เป็นเสมือนการเริ่มต้นของการ เชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับบุคคลในชุมชนให้มีการพึ่ง-พาต่อกันและตนเองได้อย่างยั่งยืน"
“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพิพิธภัณฑ์ปลากัดบ้านสวนบางกระเจ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในการประสานความสมานฉันท์ภายในชุมชนและการร่วมสร้างอาชีพของคนภายในชุมชนต่อไป”
“ทั้งยังเล็งเห็นโอกาสและ คาดหวังประโยชน์ต่อชุมในด้านของเศรษฐกิจช่วยให้เกิดรายได้เสริมถึงขั้นต่อยอดเป็นรายได้หลักด้วยการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออก สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้จากภูมิปัญญาของไทยที่ได้ตกทอดมาสู่คนรุ่นใหม่ให้เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนไม่ละทิ้งถิ่นฐาน ลดปัญหาการแออัดของที่อยู่อาศัยและลดปัญหาการว่างงาน”
(แนวคิดริเริ่มจากท่านประธานมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคน นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์)